หัวรถจักรไอน้ำ ฮาโนแมค หมายเลข261
ในอดีตใช้ประจำการแขวงการเดินรถนครราชสีมา
ปัจจุบันถูกนำมาตั้งไว้ที่
หน้าสถานีรถไฟนครราชสีมา
โดยหันหน้าหัวรถจักรขึ้นทิศเหนือ
เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
และเรียกกันจนติดปากว่า
"หัวรถไฟ"
"หัวรถไฟ"
คำนี้"ไม่มี"ในสารบบของคำศัพท์
ที่ใช้ในเอกสารของการรถไฟ
แต่สำหรับชาวโคราชอย่างเราๆ
คำว่า "หัวรถไฟ"กลับเป็นคำที่มีบทบาท
ในชีวิตประจำวัน
จะเห็นได้ว่ามีการนำคำว่า"หัวรถไฟ"
ไปใช้เป็นชื่อ ร้านหรือสาขา
เพื่อบ่งบอกถึงขอบเขตบริเวณ
ของสถานีที่ตั้ง
เช่น "ตลาดหัวรถไฟ"
"5แยกหัวรถไฟ" เป็นต้น
คล้ายกัน คำว่า "หัวลำโพง"
คำว่า
หัวรถไฟ(โคราช)และ หัวลำโพง(กรุงเทพ)
มีความเหมือนกัน คือ
-ใช้เรียกแทนชื่อสถานีรถไฟ
-ใช้เรียกแทนย่านการค้าในละแวกนั้นๆ
ที่สำคัญคือ ทั้ง2คำนี้
"ไม่มี"อยู่ในสารบบของกิจการรถไฟ
แม้ชื่อเรียกทั้ง2คำนี้
จะหมายถึงสถานีรถไฟโดยตรง